Songkhla Lake supports life –
Interview with Leiung Kloi Chodok, local fisherman, Ban Ao Sai, Village 1, Koyo Subdistrict, Mueang District, Songkhla Province
“This year I will be 70 years old. I have been fishing like this for over 40 years in Songkhla Lake to help support my family and ensure enough income to send our children to school.
Now, they have families that can take care of themselves.”
__
ประมงพื้นบ้านคือ กิจกรรมที่เป็นดั่งลมหายใจเข้าออกของชุมชนชายฝั่งทั่วโลก วิถีหาอยู่หากินพึงพาธรรมชาติ ด้วยความเข้าอกเข้าใจ คือ ต้นขั้วสำคัญของการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ผ่านช่วงชีวิต และการส่งต่อองค์ความรู้ของคนรุ่นแล้วรุ่นเล่า
…และที่สงขลา เมืองทะเลสามน้ำ รูปแบบความสัมพันธ์ของคนกับทะเลก็เป็นเช่นนั้น
‘ลุงคล้อย ช่อดอก’ ชาวประมงพื้นบ้านหมู่ 1 บ้านอ่าวทราย ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา ได้แบ่งปันความเป็นไปของอาชีพประมงพื้นบ้านที่เลี้ยงปากท้องและครอบครัวมากว่าครึ่งศตวรรษ เป็นเรื่องราวอันเรียบง่าย แต่แฝงไว้ด้วยประเด็นที่อยากชวนทุกท่าน ร่วมกันคิด และค้นหาวิธีการ เพื่อเติมเต็ม ‘คุณค่า’ ดังกล่าว สู่การพัฒนาจังหวัดสงขลาให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร ที่มีหัวใจสำคัญเป็นทรัพยากรแหล่งอาหารอันรุ่มรวยต่อไป
__
“ผมเป็นคนสิงหนคร มาได้แฟนที่นี่ ทะเลแถว ๆ นี้กับประมงพื้นบ้านผมสืบต่อความรู้และการทำมาหากินต่อจากพ่อตาถึงตอนนี้ก็ทำมา 40 กว่าปีได้แล้ว ตื่นเช้ามาก็ออกไปแบบนี้ทุกวัน ให้อาหารปลาในกระชัง คัดปลาที่ได้ขนาดไปขาย ออกไปดูไซนั่ง เก็บปูปลากุ้งส่งตลาด เหลือก็เอาไว้กินเอง ตากแห้ง แบ่งให้คนนู้นคนนี้ ที่ทำมาตลอดก็พอให้มีรายได้ไปวันต่อวัน และส่งลูกเรียนจนจบ พ่อตาเสียไปนานละ แฟนก็เสียไปแล้ว ตอนนี้เหลือผม ลูก ๆ และบรรดาเหลน ๆ”
ทะเลแถวนี้ชาวบ้านแบ่งที่กัน คือ จะรู้ ๆ กันว่าใครจองตรงไหนไว้ เขตที่ทางก็ส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่น และพอจะขอเปลี่ยนมือ ใครอยากมาทำต่อก็จะอาศัยคุยกัน มีข้อตกลง มีซื้อเครื่องมือต่อกัน หรือมีให้เงินเล็กน้อยๆ หมู่บ้านเรามีคนทำแบบผมเหลืออยู่สัก 5-6 คน รุ่นผมนี่เหลือผมคนเดียวแล้ว (ยิ้มกว้าง) ที่เหลือจะเป็นคนหนุ่มวัย 40-50
จริงๆ เมื่อก่อนมีคนทำเยอะกว่านี้ เดี๋ยวนี้คนมองว่ามันเหนื่อย ไหนจะต้นทุนสารพัด กับสภาพน้ำทะเล และอากาศ ผมมองว่าจริงๆ งานมันไม่เหนื่อยนะ แต่เด็กๆ เค้าไม่ทำ เรียนหนังสือแล้ว ก็ไปทำอย่างอื่น เขาคิดว่ามันได้เงินเยอะกว่า”
หากินกับทะเลสาบ มันดีอย่างหนึ่งคือ ไม่ต้องใส่ปุ๋ย มีน้ำทะเล น้ำจืด น้ำกร่อย มาช่วยเลี้ยงปลา กุ้ง ปู ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากเรามีธรรมชาติช่วยดูแล เราคนอยู่ก็ต้องเข้าใจดินฟ้าอากาศ อย่าไปทำอะไรที่มันเกินเลย อย่างวันนี้เราไปเก็บไซ ยกตั้งหลายอันได้กุ้งน้อยมาก น้ำมันร้อน เดี๋ยวนี้ เมษา พฤษภา มิถุนา ไม่ต้องพูดถึง ลมไม่มี น้ำก็ร้อน กุ้งปูปลาไม่เข้า และปีนี้น้ำทะเลถือว่าร้อนมากๆ ปลาในกระชังพวกตัวเล็กๆ ลอยตายกันเยอะ อย่างวันนี้ร้อน 38-39 ปลาขี้ตังที่ทางประมงเขามาฝากผมขอวางกระชังทดลอง ที่เห็นลอย ๆ ขาว ๆ อยู่ตรงนั้นแหละ น้ำมันร้อน มันอยู่ไม่ได้ มันไม่ไหว
ปลากะพงที่ผมเลี้ยง มันก็กระทบนะ มันไม่ค่อยขึ้นมากินอาหาร ไม่ว่าจะร้อน ไม่มีลมหรือการขึ้นลงของน้ำทะเล น้ำจืด น้ำกร่อย มีผลทั้งหมด อย่างกุ้งที่วันนี้ได้ตัวเล็กๆ และได้น้อยมาก คือมันก็ไม่ใช่ฤดูของเขา และอากาศมันแบบนี้ด้วย ก็ยิ่งจะได้น้อยเข้าไปอีก ที่ได้นี่ก็ไม่พอขาย ว่าจะตากแห้ง เก็บไว้ใส่ส้มตำ ไม่ก็ผัดใส่ผัก กุ้งขาว กุ้งหัวแข็งตัวเล็กเอาไปผัด หรือต้มอร่อยนะ หรือปูตัวเล็กๆ ต้มแล้วฉีกกินนี่หวานมาก ยิ่งเวลาเอาไปผัดกับน้ำพริกเผายิ่งอร่อยขึ้น ถ้าพูดถึงช่วงที่วางไซนั่งแล้วได้มากๆ ก็จะนู้นเลยปลายปี ช่วงพฤศจิกา ถ้าอากาศไม่เป็นใจก็อาจจะยาวไปถึงธันวา
ถึงผมจะอายุมากแล้ว วันนี้ก็ 70 เข้ามาแล้ว ยังไม่มีโรค ผมไม่มีเคล็ดลับอะไร จริง ๆ ผมก็กินเหมือน ๆ กับทุกคนนั้นแหละ แต่ส่วนใหญ่เป็นของที่หาได้จากทะเลสาบ แม้วันนี้เบาหวาน ความดันยังไม่มี แต่วันหน้าของมันก็ไม่แน่ ของมันมาได้ ทุกวันนี้ขอแค่ได้ตื่นทุกเช้ามาทำแบบนี้ ถือว่าออกกำลังกายไปในตัว ก็ดีมากแล้ว และก็คิดว่าจะทำอย่างนี้ต่อไป เพราะมันสนุก ได้ออกทะเล มันเพลิน”
#เกาะยอ#กะพงสามน้ำ#สงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์#จังหวัดสงขลา#songkhlacreativecityinitiative#องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา#โครงการขับเคลื่อนสงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์UNESCO
Songkhla Lake supports life –
Interview with Leiung Kloi Chodok, local fisherman, Ban Ao Sai, Village 1, Koyo Subdistrict, Mueang District, Songkhla Province
“This year I will be 70 years old. I have been fishing like this for over 40 years in Songkhla Lake to help support my family and ensure enough income to send our children to school. Now, they have families that can take care of themselves.”
Local fishing activities are the lifeblood of coastal communities across the world. A way to make a living dependent on nature. With understanding, it is the cornerstone of sustainable living, moving through life, and passing on knowledge from generation to generation
…and in Songkhla, the City of Three Seas, the relationship between people and the waters is just that.
Leiung Kloi Chodok, a local fisherman from Ban Ao Sai, Village 1, Koyo Subdistrict, Mueang District, Songkhla Province, shared the history of the local fishing profession that has fed himself and his family for over half a century. It’s a simple story, but contains a message which should be considered by all – how to encompass such values to develop Songkhla Province into a Creative City of Gastronomy. This is the key to becoming a rich source of food-related resources in the future.
“I am a Singhanakorn citizen. I found a partner here whilst living around the sea and local fisheries. I have continued the knowledge and livelihood of my father-in-law. I have been doing this for over 40 years now, waking up early and going out every day to feed the fish in the cage, selecting the right size of fish to sell, sitting and looking at the ocean, collecting crabs and shrimp to send to market. What is left over I keep for myself to eat. I dry them and share with other people. What I’ve been doing all this time has earned enough income, day by day, to send my children to study until they graduate. My father-in-law passed away a long time ago. My partner has also passed away. Now it’s just me, my children, and great-grandchildren.”
“In this area, locals divide their space so they know who has reserved where. Zones are handed down from generation to generation, and if anyone wants to change hands, those who wish to continue the work will discuss, come to an agreement, and purchase tools or give a small amount of money. In our village, there are only five or six people left who do the same as me. I’m the only one left from my generation (smiles broadly), while the rest are young men in their 40’s to 50’s.”
“In fact, there were more people doing this in the past. Now people find it tiring due to the various costs, sea and weather conditions. I don’t find the work tiring, personally. But younger people don’t do it and prefer to study, then do something else which they think will earn more money.”
“One benefit of living by the lake is there is no need for fertilizer. The seawater, fresh water and brackish water helps nurture fish, shrimp and crabs. It is a good thing to have nature assist us. We, the citizens, must understand the weather and environment, so we don’t practice anything too extreme. For example, today, we went to collect crabs. We set many traps but caught very little. The water is warm, as it normally is throughout April, May and June. Obviously, when there is no wind and the water is hot, fish, shrimp and crabs don’t come. On top of that, this year the sea is especially warm. Many small fish in the cages are floating dead on the surface. Today is hot, the temperature is between 38-39 degrees Celsius. The fishery brought some live fish for me to place in a test cage where I saw the others floating. The water is too warm. They couldn’t survive. They couldn’t survive.”
“The tilapia I raise are also affected. They rarely come up to eat, regardless of the temperature, wind conditions, or fluctuations in seawater, fresh water and brackish water, which usually all affect them. The same applies to the shrimp today. Those we caught were small and few. It’s not their season. And, with this kind of weather, there may be even fewer. There is not enough to sell, so I will dry them for use in papaya salad or stir-fried vegetables. White shrimp and small head-headed shrimp are delicious when boiled. Boiled small crabs are very sweet. Or, when stir-fried with chili paste, the longer you cook them the more flavorsome they become. Regarding best time to set nets and catch more, it is usually towards the end of the year around November, or December if the weather is unfavorable.”
“Despite being 70 and getting old, I still haven’t had any illnesses. There’s no secret to it really. In fact, I eat just like everyone else. But most of it can be found in the lake or ocean. Even today, I don’t suffer from diabetes and my blood pressure is normal. But who knows what will happen in the future? As it is, I only wish to wake up each morning and continue doing what I do. The exercise is great in itself, and I believe I will keep doing this because it is fun and the sea is enjoyable.”