The Key Words ตอนที่ 2 City of Gastronomy : เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหารของยูเนสโก

UNESCO ได้ให้ความหมายถึง Creative City ‘เมืองสร้างสรรค์’ ไว้ว่า

“A city placing creativity and cultural industries at the heart of its development plan at the local level and cooperating actively at the international level.” 

คัดลอกจากเว็บไซด์ www.unesco.org

‘เมืองที่ใช้กิจกรรมสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมเป็นหัวใจสำคัญในแผนการพัฒนาเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น และเชื่อมโยงความร่วมมือไปสู่ระดับนานาชาติ’

จากความหมายดังกล่าวการได้รับการรับรองจาก UNESCO ให้เมืองมีสถานะเป็นเมืองสร้างสรรค์เมืองจะต้องมีคุณลักษณะ 2 หลักการสำคัญ คือ มีกิจกรรมสร้างสรรค์ อุตาสหกรรมและเศรษฐกิจจากฐานวัฒนธรรม และมีแผนงานกับปฏิบัติการที่ดำเนินการได้จริง ส่งผลต่อการเติบโต เผยแพร่ และส่งต่อกิจกรรมหรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์เหล่านั้นให้ดำเนินต่อไป และเกิดผลดีกับเมือง และคุณภาพชีวิตของคนในเมือง 

หากพิจารณาให้ถึงแก่น การรับรองหรือสถานะที่ได้ จึงมิใช่รางวัล แต่เป็นการบ่งบอกถึง ความพร้อม ศักยภาพ และการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมส่งผลกระทบที่ดีกับเมือง 

UNESCO Creative City Network (UCCN) คือโปรแกรมการพัฒนาเมืองที่ UNESCOเริ่มดำเนินการในปี 2004 หรือ พ.ศ. 2547 มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเมืองที่ใช้วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์เป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืน ปัจจุบันมีเมืองสร้างสรรค์ในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ราว 300กว่าเมือง กระจายตัวอยู่ 90 ประเทศทั่วโลก 

7 ประเภทเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ประกอบด้วย

          1. เมืองแห่งวรรณกรรม (City of Literature)

          2. เมืองแห่งภาพยนตร์ (City of Film)

          3. เมืองแห่งดนตรี (City of Music)

          4. เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (City of Crafts & Folk Arts)

          5. เมืองแห่งการออกแบบ (City of Design)

          6. เมืองแห่งศิลปะสื่อประชาสัมพันธ์ (City of Media art)

          7. เมืองแห่งวิทยาการอาหาร (City of Gastronomy)

🔵จากการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดสงขลา “เมืองแห่งวิทยาการอาหาร City of Gastronomy” ถือเป็นแนวคิดเมืองสร้างสรรค์ที่ได้รับความสนใจจากคนสงขลา และมีความพยายามผลักดันกันมาอย่างต่อเนื่อง เมืองที่จะได้รับการรับรองให้เป็นเมืองแห่งวิทยาการอาหาร (City of Gastronomy) จะต้องมีผ่านเกณฑ์บ่งชี้สำคัญ 

1.มีวิทยาการอาหารที่ได้รับการพัฒนาและสะท้อนอัตลักษณ์ของเมืองหรือภูมิภาค

2.มีกลุ่มชุมชนหรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการอาหาร อย่างการมีร้านอาหารท้องถิ่น และเชฟ 

3.มีการใช้วัตถุดิบพื้นถิ่นในการประกอบอาหารท้องถิ่น 

4.มีองค์ความรู้เรื่องกรรมวิธีและการประกอบอาหารท้องถิ่นที่ยังหลงเหลือคงอยู่แม้จะมีการพัฒนาของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

5.มีตลาดอาหารท้องถิ่นและอุตสาหกรรมการผลิตอาหารท้องถิ่น

6.เป็นเจ้าภาพในการจัดเทศกาลอาหารท้องถิ่น มีการแข่งขัน มอบรางวัล และการสร้างการรับรู้ในวงกว้าง

7.ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความยั่งยืนของวัตถุดิบท้องถิ่น

8.รักษากระแสความชื่นชมจากสาธารณะ ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องคุณค่าและประโยชน์ของอาหารในสถาบันการศึกษา รวมไปถึงการมีโปรแกรมเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่นในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนสอนทำอาหาร   

#songkhlacreativecityinitiative #สงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก