ถอดบทเรียนเมืองอู่ฮั่น เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบชั้นนำของโลก (Lessons Learned from Wuhan; the world leading UCCN City of Design)

เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) เมื่อพูดถึงชื่อนี้ เป็นที่แน่นอนว่าไม่มีใครในโลกไม่รู้จัก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่านอกเหนือจากการเป็นเมืองศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่สำคัญ ของมณฑลหูเป่ย์ (Hubie) สาธารณรัฐประชาชนจีน

เมื่อวันที่ 8-12 กันยายนที่ผ่านมา คณะทำงานขับเคลื่อนสงขลา สู่การเข้าเป็นสมาชิกเมืองสร้างสรรของยูเนสโก นำโดย นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้รับเชิญจาก สถาบันการวางแผนและการออกแบบเมืองอู่ฮั่น ภายใต้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาเมืองและชนบท (Wuhan Planning and Design Institution, Bureau of Natural Resource & Urban-Rural Development) ในการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการความร่วมมือ “อู่ฮั่นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ และโครงการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์สงขลา” (The Collaborative Workshop “Wuhan Creative City of Design and Songkhla Creative City Initiative ณ เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้มีโอกาสร่วมประชุมหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับคณะทำงาน Wuhan City of Design และหลากหลายภาคีขับเคลื่อนเมืองด้านการออกแบบของอู่ฮั่น ประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน 

เมืองอู่ฮั่นมีสถานะเป็น “เมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกด้านการออกแบบ (City of Desgin) ที่เริ่มผลักดันเมืองโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบเป็นฐาน ภายใต้แนวคิด ‘design engineering’ เมืองใช้เวลาเกือบ 10 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 – 2016 ในการเตรียมเมืองผ่าน policy framwork เพื่อเป็นการยืนยันในการพัฒนาเมืองอย่างสร้างสรรค์ผ่านงานออกแบบ ด้วยลักษณะเมืองที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมเป็นทุนเดิม ทำให้เมืองอู่ฮั่น มองเห็นศักยภาพของการใช้วิศวกรรมงานออกแบบมาเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาเมือง

เมื่อพูดถึงว่า “อะไรคือตัวชี้วัดสำคัญของการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านงานออกแบบของอู่ฮั่น” สิ่งที่น่าสนใจ คือเมืองใช้มาตรฐานตัวชี้วัดภายใต้สามกรอบหลักได้แก่

  1. การเพิ่มขึ้นของทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property )
  2. เกิดเครือข่ายของนักออกแบบทั้งในระดับชาติ และระดับเมือง โดยเฉพาะเครือข่ายนักออกแบบอิสระ
  3. เกิดเครือข่ายชุมชนที่ใช้ความสร้างสรรค์ด้านการออกแบบเป็นตัวขับเคลื่อนมากกว่า 100 ชุมชน

มาตรฐานการชี้วัดดังกล่าว  แสดงออกถึงคุณค่าด้านความยั่งยืนบนฐานทรัพยากรวัฒนธรรม  การใช้งานวิศวกรรมด้านการออกแบบในการพัฒนาเมือง ทั้งทางด้านกายภาพ นโยบาย รวมไปถึงด้านวิชาการ โดยสามารถถอด 5 บทเรียนสำคัญของการขับเคลื่อนอู่ฮั่นสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบระดับโลก ดังนี้

1. Old City, New Life: การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และดำเนินการร่วมกันทั้งระดับเมืองและระดับมณฑล ที่สอดแทรกเข้าไปทุกอนุของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการด้านอุตสาหกรรมการออกแบบ นิทรรศการ การจัดงาน และการสร้างเครือข่ายโดยใช้แนวทาง “Design Driven Culture” การนำเอาคุณค่าที่เกี่ยวข้องด้านวัฒนธรรมมาเป็น “ต้นทุน” ในการออกแบบผ่าน Design Thinking และ Design Development จนทำให้เกิดอุตสาหกรรมการออกแบบและการผลิตของเมืองที่ขยายฐานไปทั่วโลก

2. Culture People and Place: ต้นทุนและฐานทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคน ผ่านการออกแบบกิจกรรมในเมืองผ่านสัมผัสทั้ง 5 และชีวิตประจำวัน เมืองถูกพัฒนาให้เป็นสถานที่ (Place) ที่เต็มไปด้วยกระบวนการคิดเชิงการวางผังและการออกแบบเมือง แม้ว่าเมืองบางส่วนยังคงต้องการการพัฒนา แต่สิ่งเหล่านี้เมืองมีแผนดำเนินการในระยะยาว พร้อมกรอบการทำงานด้านนโยบายให้เกิดพื้นที่ในเมือง (urban space) ที่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตในอนาคต และไม่ทิ้งความเป็นวัฒนธรรมจีน ผ่านการดึงเอาเอกลักษณ์ความเป็นอู่ฮั่น ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะ รวมไปถึงด้านรสชาติอาหาร นำไปสู้การพัฒนาภายใต้แนวคิด Identity of Wuhan ในทุกมิติ สร้างการรับรู้ให้การออกแบบและการต่อยอดรากวัฒนธรรมเป็น “สิ่งปกติ” ทุกคนเข้าถึง

3. Education and Innovation: อู่ฮั่นเป็นเมืองที่มีฐานผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญระดับโลก รวมไปถึงสถานศึกษามากมาย ดังนั้นจึงใช้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมดังกล่าว เป็นพื้นที่ให้ความรู้แก่คนรุ่นใหม่ เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ร่วมกันใช้การออกแบบบนฐานวัฒนธรรม ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนส่งผลให้ระดับ Interluctual Property หรือ ระดับการวัดผลเชิงทรัพย์สินทางปัญญาสูงขึ้น หลังจากเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในระดับโลก

4. Celebration of UCCN membership: ทุกหน่วยงาน องค์กร ให้ความสำคัญกับวันที่เมืองได้รับการประกาศเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก นั้นคือวันที่ 1 พย. 2017 และมีการจัดงาน นิทรรศการ และการเฉลิมฉลองในช่วงเวลานั้นอย่างสม่ำเสมอ

5. Design for the sustainability: เมืองเชื่อว่าการออกแบบ จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ต้องมีความเข้าใจต้นทุนทางวัฒนธรรมอย่างดี ซึ่งเป็นการนำเอาบทเรียนข้อ 1-4 มาดำเนินงานร่วมกันพร้อมการพัฒนาเทคโนโลยี ที่ตอบรับความยั่งยืนระหว่างเครือข่ายนักออกแบบ ชุมชน และการศึกษา เกิดเป็นกลไกที่ทุกคนปฏิบัติตามอย่างมุ่งมั่น

ความน่าสนใจคือกระบวนการทำงานภายใต้กรอบยูเนสโก  ที่เน้นเรื่องการใช้การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมเป็นตัวขับเคลื่อน เมืองอู่ฮั่นมีหลักการในการพัฒนาเมือง ทั้งทางด้านกายภาพ  และการจัดการทรัพยากรด้านความสร้าง  คนและชุมชนอย่างสอดคล้องกัน จนกระทั่งได้รับการประกาศเป็นเครือข่ายสมาชิกในปีค.ศ. 2017  นอกเหนือจากนั้น ปัจจุบันเมืองอู่ฮั่นยังเป็นผู้ประสานงานหลัก ของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบทั่วโลก โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ ณ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาเมืองและชนบท (Bureau of Natural Resource & Urban-Rural Development)  นอกเหนือจากการมีสำนักงานในการทำงาน และรองรับผู้มาเยือนแล้ว คำว่า PLANNIING ยังถูกใช้เป็น Branding ของเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลัก ในการที่เมืองอู่ฮั่นนำเสนอตนเองเป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ภายใต้กรอบ Engineering Design โดยมีสำนักงานอยู่ภายใต้ตึกของกระทรวง ที่ทำหน้าที่ดูแลงานส่วนนี้ และยังเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ด้านการออกแบบ เช่น ห้องสมุด นิทรรศการขนาดเล็ก และร้านกาแฟ