About Songkhla

โครงการสงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์ UNESCO : Songkhla Creative City Initiative

“สงขลาสร้างสรรค์ครอบคลุมและยั่งยืน Towards an inclusive and sustainable city”

จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ พื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย จึงเป็นเมืองท่าและจุดศูนย์กลางในการติดต่อการค้าในอดีต ส่งผลให้เมืองสงขลา มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ตลอดจนมีความหลากหลายจากผู้คนชนชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาแวะเวียนและตั้งรกรากอาศัย มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมลายู การอาศัยอยู่ร่วมกันจึงเกิดเป็นการหล่อหลอมทางวัฒนธรรม กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ถูกถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน เห็นได้จากโบราณสถานชุมชนเมืองเก่า และอาคารดั้งเดิม

อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีความโดดเด่นเป็นหนึ่งเดียวในประเทศ คือ เป็นเมือง 2 ทะเล มีทั้งทะเลสาบสงขลา 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม และทะเลฝั่งอ่าวไทย มีภูมินิเวศแบบโหนด-นา-เล คือ ต้นตาล ท้องนา และทะเล เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ก่อให้เกิดวัตถุดิบในการทำอาหารที่หลากหลายทำให้กลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของเมืองสงขลาจนถึงปัจจุบัน และมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายมีศักยภาพและมีความโดดเด่นในการขับเคลื่อนเมือง

มีโครงสร้างพื้นฐานและวัฒนธรรมที่ผสมผสานของ ความหลากหลายที่สะท้อนเอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของเมือง นำไปสู่ความคิดริเริ่มในการผลักดันเมืองสงขลาเข้าสู่เมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสงขลา เกิดการพัฒนาของเมืองและส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น เพื่อยกระดับอาหารของพื้นเมืองสงขลาสู่ความเป็นสากลที่น่าสนใจ

ดังนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวง (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 กำหนดกิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นสมควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ (16) ส่งเสริมการท่องเที่ยว และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (14) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (18) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณะและจังหวัดสงขลา

จึงได้เห็นความสำคัญในการศึกษาและประเมินศักยภาพการเป็นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกรวม ไปถึงการจัดเตรียมแผนดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมและขับเคลื่อนสงขลาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ ตามหลักเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก อันจะส่งเสริมให้สงขลาเป็นที่รู้จักในระดับชาติและนานาชาติ จึงได้มีขั้นตอนและแนวทางการดำเนินงานตามกรอบแนวทางขอบเขตการจ้างเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้โครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษาการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองตามแนวทางการเป็นเมืองสร้างสรรค์ (โครงการสงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์ UNESCO : Songkhla Creative City Initiative)

ดำเนินงานโครงการตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2567 – 10 พฤศจิกายน 2567

🟨เป้าหมาย

ทบทวนแผนการดำเนินงานการขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก (UNESCO) เพื่อสนับสนุนการเขียนเอกสารร่างใบสมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก

🟨โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย

1)การทบทวนแผนทบทวนแผนการดำเนินงานการขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO) ด้านอาหาร “พหุวัฒนธรรม ในวิถีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” พร้อมศึกษารวบรวมข้อมูลจังหวัดสงขลา และทบทวนศักยภาพและความเหมาะสมของจังหวัดสงขลาตามกรอบของตัวชี้วัดของ UNESCO จัดทำฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ระบุศักยภาพเชิงประเด็นเมืองสร้างสรรค์ตามมาตรการสากล โดยใช้เครื่องมือการเป็นเครือข่ายสร้างสรรค์ (Main theme and sub-theme)

2) จัดทำร่างใบสมัครเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกระบวนการ Peer Review เอกสารใบสมัคร

3)การจัดทำแผนการดำเนินงาน (Road Map) และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ระยะ 4 ปี การขับเคลื่อนเมืองสงขลาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ ตามหลักเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก

4)การเข้าร่วมงานประชุม หรือเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก

5)การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารและการขับเคลื่อนเมืองสงขลาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ ตามหลักเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก

#songkhlacreativevityinitiative#สงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์UNESCO

UNESCO Songkhla Creative City Initiative: Towards an inclusive and sustainable city 

Songkhla is the third largest province by area in the southern region. Located in the Gulf of Thailand, the city formerly acted as a port and central hub for trade contacts. As a result, the City of Songkhla has since prospered and is home to diverse peoples of various nationalities that visited and eventually settled, including Thai Buddhists, Thais of Chinese descent, and Thais of Malay descent. Living together has created a cultural melting pot and unique identity continued from past to present, as evident in the Old City and original buildings of ancestral communities.

Songkhla is also a unique city in the national context, being situated between two bodies of water comprised of three types: Songkhla Lake, consisting of freshwater and brackish water, and the saltwater of the Gulf of Thailand. The landscape is referred to as “nod-na-lae”, featuring palm trees, rice fields and the sea, making available a variety of culinary ingredients – like a rice bowl – which forms part of the unique identity of Songkhla, along with a variety of outstanding cultural activities with potential for promoting the city.

The mixture of infrastructure, culture and diversity, which reflects the identity and image of the city, spurred the current initiative to promote Songkhla as a UNESCO Creative City, and will stimulate economic development in Songkhla Province along with urban development and promotion of sustainable tourism in the city itself, with focus on local food culture to elevate the local cuisine of Songkhla to a level of international interest.

Songkhla Provincial Administrative Organization is a local government organization with roles and responsibilities stipulated by the Provincial Administrative Organization Act B.E. 2540 amended (No. 5) B.E. 2562, and Ministerial Regulations (B.E. 2541) issued in accordance with the Provincial Administrative Organization Act B.E. 2540, which determines the activities of other local government agencies with respect to those participated in or organized by the Provincial Administrative Organization (16), including promotion of tourism. Additionally, according to the Act on Decentralization Plans and Procedures for Local Administrative Organizations B.E. 2542, Section 17, subject to Section 16, Provincial Administrative Organizations possess the authority and responsibility to organize public service systems for the benefit of citizens in their own locality (14) including promotion of tourism (18) and promotion of sports, traditions and culture of the locality, to provide maximum benefit to the public and Songkhla Province.

The significance of researching and evaluating Songkhla as a potential member of the UNESCO Creative Cities Network is duly recognized, together with creation of an action plan for promoting and driving Songkhla towards designation as a Creative City, according to UNESCO principles, to encourage recognition of Songkhla both domestically and internationally. Accordingly, steps and guidelines for operations are followed according to employment scope guidelines in order to achieve effective project results, including hiring of consultants to research the motive factors behind urban development according to Creative City guidelines (UNESCO: Songkhla Creative City Initiative).

Project operational from 12th March 2024 – 10th November 2024

Goal

Review operational plans for promoting Songkhla Province as potential UNESCO Creative City in support of draft application documents for UNESCO Creative Cities Network.

Operational steps 

  • Review operational plan for promoting Songkhla Province as a potential UNESCO Creative City – Gastronomy, “Multiculturalism in Songkhla Basin”; research and collect information on Songkhla Province; review the potential and suitability of Songkhla Province according to the UNESCO framework and indicators; create a database for spatial analysis to identify thematic potential of the Creative City according to international measures; utilize creative networking tools (main theme and sub-theme).
  • Prepare draft application for Creative Cities Network membership; establish processes for engaging stakeholders and peer-review of application documents.
  • Prepare a 4-year road map and action plan to promote Songkhla as a potential Creative City according to UNESCO principles.
  • Attend conferences and workshops with other members of the UNESCO Creative Cities Network.
  • Create media for public relations and communication to promote Songkhla as a potential Creative City, according to UNESCO principles