Workshop แผนปฏิบัติการ (Action Plan) การขับเคลื่อนเมืองสงขลาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์



เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ณ สำนักงานจังหวัดสงขลา โครงการสงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์ UNESCO ได้จัดประชุม Workshop แผนปฏิบัติการ (Action Plan) การขับเคลื่อนเมืองสงขลาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ตามหลักเกณฑ์ขององค์การยูเนสโกที่มาจากการมีส่วนร่วมชองภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างความรับรู้ให้กับประชาชนคนสงขลา และร่วมแสดงความคิดเห็นถึงแผนการดำเนินงานกิจกรรมหรือโครงการที่จะสนับสนุนเมืองสงขลาในอนาคต


โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ คณะทำงานได้นำแนวทางการพัฒนา แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ให้กับที่ประชุมได้รับทราบถึงแนวทางที่จะร่วมกันออกแบบการทำงานไว้ดังนี้

ขั้นตอนการพัฒนาแผนปฏิบัติการณ์ (Action Plan) 

เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่…. และขอบเขตงานจ้างที่ปรึกษาในการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การขับเคลื่อนเมืองสงขลาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ ตามหลักเกณฑ์ขององค์การยูเนสโก ที่ปรึกษาได้ดำเนินการออกแบบกระบวนการและรายละเอียดการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวตามรายละเอียดต่อไปนี้ 

  1. พิจารณาและทบทวนแผนระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดสงขลา เพื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ แผนงาน และความสอดคล้องการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ตามแนวทางของยูเนสโก 
    1.1 พิจารณาและทบทวนแผนระดับจังหวัดย้อนหลัง 4 ปี (พ.ศ. 2563 – 2566) เพื่อประเมินยุทธศาสตร์ แผนงาน และความสอดคล้องตามคำถามในใบสมัคร UCCN Application Form 2023 
    1.2 พิจารณาและทบทวนแผนระดับจังหวัดอนาคต 4 ปี ปี (พ.ศ. 2567 – 2570) เพื่อประเมินยุทธศาสตร์ แผนงาน และความสอดคล้องในการขับเคลื่อนโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดสงขลา
  2. พิจารณาและทบทวนกิจกรรมและโครงการขับเคลื่อนงานที่เกี่ยวข้องกับเมืองสร้างสรรค์จังหวัดสงขลา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสนับสนุน
    2.1 ข้อมูลด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับและสนับสนุนการเป็นเมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดสงขลา
    2.2 รวบรวมกิจกรรมที่สร้างการรับรู้การเป็นเมืองสร้างสรรค์ของจังหวัดสงขลา
    2.3 พิจารณาและทบทวนโครงการดำเนินงานตามคำสั่งจังหวัดสงขลาที่ 779/2567
  1. พิจารณาและทบทวนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเมืองสงขลาสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การเข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก อาทิ วัตถุประสงค์โครงการ ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินโครงการ กระบวนการมีส่วนร่วม โครงสร้างการขับเคลื่อนการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในประเทศไทย และ การวิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยง เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องร่วมกับเนื้อหาข้อที่ 1 และ 2 
     
  2. พิจารณาและทบทวนรายละเอียดบทบาทและหน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ผ่านพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 วิสัยทัศน์และพันธกิจ และความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาตามคำสั่งจังหวัดสงขลาที่ 779/2567 
  3. กำหนดเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือของยูเนสโก อาทิ คำแถลงพันธกิจของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UCCN Mission Statement) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ปฏิญญาว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก (MONDIACULT 2022) และ เอกสารใบสมัครการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก(UCCN Application Form 2023) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม
  4. กำหนดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผน (Participatory Planning Process) ระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ขับเคลื่อนงานด้านเมืองสร้างสรรค์ในจังหวัดสงขลา งานเปิดตัวโครงการศึกษาการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองตามแนวทางการเป็นเมืองสร้างสรรค์ กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ภายใต้กรอบองค์กรยูเนสโก กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการณ์เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และกิจกรรมสาธารณะเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้การพัฒนาเมือง 
  5. กำหนดขอบเขตแผนปฏิบัติการณ์ (Action Plan) โดยเน้นความสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานดำเนินการ ผ่านการวิเคราะห์ความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินแผนซึ่งจำเป็นต้องระบุตามข้อกำหนดเอกสารใบสมัครการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UCCN Application Form 2023) อาทิ โครงการ สำคัญ-เร่งด่วน ระดับท้องถิ่น ที่ต้องทำในระยะ 1-4 ปี  จำนวน 3 โครงการ โครงการ สำคัญ ระดับท้องถิ่น ที่ต้องทำในระยะ 5-8 ปี  จำนวน 3 โครงการ และ โครงการ สำคัญ-เร่งด่วน ระดับท้องชาติและนานาชาติ ที่ต้องทำในระยะ 1-4 ปี  จำนวน 3 โครงการ