จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภาคใต้ พื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย จึงเป็นเมืองท่าและจุดศูนย์กลางในการติดต่อการค้าในอดีต ส่งผลให้เมืองสงขลา มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ตลอดจนมีความหลากหลายจากผู้คนชนชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาแวะเวียนและตั้งรกรากอาศัย มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมลายู การอาศัยอยู่ร่วมกันจึงเกิดเป็นการหล่อหลอมทางวัฒนธรรม กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ถูกถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน เห็นได้จากโบราณสถานชุมชนเมืองเก่า และอาคารดั้งเดิม อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีความโดดเด่นเป็นหนึ่งเดียวในประเทศ คือ เป็นเมือง 2 ทะเล มีทั้งทะเลสาบสงขลา 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม และทะเลฝั่งอ่าวไทย พื้นที่ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มทางตะวันออก เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ชายฝั่งมีลักษณะเป็นหาดทรายยาวทอดตัวในแนวเกือบเหนือใต้ ตั้งแต่อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร อำเภอเมืองสงขลา อำเภอจะนะ และอำเภอเทพา รวมชายฝั่งทะเลยาว 157.90 กิโลเมตร ทางใต้เป็นที่ราบสูง ป่าและภูเขา ค่อยๆ ลาดเทไปทางทะเลสาบสงขลา เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม แบ่งเป็น 3 บริเวณ ประกอบด้วย
บริเวณทะเลสาบสงขลาทางทิศเหนือในพื้นที่อำเภอสทิงพระและระโนด เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาและพืชพันธุ์อื่นๆ
บริเวณทะเลนอกเป็นที่ราบเหมาะแก่การปลูกมะพร้าว พื้นที่ซึ่งห่างจากทะเลไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา ได้แก่ อำเภอสทิงพระ อำเภอระโนด อำเทพา อำเภอจะนะ และอำเภอเมือง
บริเวณที่ประกอบด้วยเนินเขาและภูเขาพื้นที่เป็นดินเหนียวปนทรายและลูกรัง มีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย มีป่าไม้ยางพารา และการปลูกผลไม้เป็นแห่งๆ ได้แก่ พื้นที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอรัตภูมิ อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย
นอกจากนี้ สภาพภูมิประเทศที่เป็นเนินเขายังเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชผล เช่น ยางพารา น้ำมันปาล์ม และผลไม้ เช่น ทุเรียนและเงาะ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความหลากหลายด้านการทำอาหารของภูมิภาค ลักษณะภูมิประเทศอีกประการคือจังหวัดสงขลามีแม่น้ำ ลำธาร และพื้นที่ชุ่มน้ำหลายสายไหลผ่าน ซึ่งมีความสำคัญต่อการชลประทาน เกษตรกรรม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตทางน้ำที่หลากหลาย รวมถึงปลาน้ำจืด กบ และพืชน้ำ ปลาน้ำจืดหลายชนิดถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหารในท้องถิ่น โดยมีความสำคัญอย่างยิ่งในอาหารแบบดั้งเดิม นอกจากนั้นภูมินิเวศของสงขลาแบบโหนด-นา-เล คือ ต้นตาล ท้องนา และทะเล เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ก่อให้เกิดวัตถุดิบในการทำอาหารที่หลากหลายทำให้กลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของเมืองสงขลาจนถึงปัจจุบัน และมีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายมีศักยภาพและมีความโดดเด่นในการขับเคลื่อนเมือง มีโครงสร้างพื้นฐานและวัฒนธรรมที่ผสมผสานของ ความหลากหลายที่สะท้อนเอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของเมือง นำไปสู่ความคิดริเริ่มในการผลักดันเมืองสงขลาเข้าสู่เมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสงขลา เกิดการพัฒนาของเมืองและส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น เพื่อยกระดับอาหารของพื้นเมืองสงขลาสู่ความเป็นสากลที่น่าสนใจ
จากการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงประเด็นเมืองสร้างสรรค์ตามมาตรการสากล โดยใช้เครื่องมือการเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ผ่านต้นขั้วทรัพยากรที่มีสามารถชี้ให้เห็นว่า สาขาหลักเมืองสร้างสรรค์สงขลาของ UNESCO คือ ด้านอาหาร (Gastronomy) และสาขาที่มีศักยภาพในการสนับสนุน คือ ด้านการออกแบบ (Design) ซึ่งจุดเด่นของจังหวัดสงขลาที่หนุนเสริมการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร คือ การที่จังหวัดสงขลามีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย ก่อให้ให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้เป็นแหล่งวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์สำหรับการประกอบอาหารที่มีแกลักษณ์ประจำท้องถิ่น โดยที่จังหวัดสงขลาตั้งอยู่ริมอ่าวไทยมีแนวชายฝั่งยาวทอดยาว ภูมิศาสตร์ชายฝั่งนี้ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมทางทะเลที่หลากหลาย เช่น หาดทราย ป่าชายเลน และแนวปะการัง เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลมากมายซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารท้องถิ่น นอกจากนั้นจังหวัดสงขลายังมีพื้นที่ภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและเป็นป่าฝนซึ่งเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์นานาชนิด โดยชุมชนท้องถิ่นได้อาศัยรวบรวมวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น หน่อไม้ เห็ดป่า และสมุนไพรเพื่อใช้ปรุงอาหาร นอกจากนี้ ภูมิประเทศที่เป็นเนินเขายังเป็นเงื่อนไขที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชผล เช่น ยางพารา น้ำมันปาล์ม และผลไม้ เช่น ทุเรียนและเงาะ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความหลากหลายด้านการทำอาหารของภูมิภาค ลักษณะภูมิประเทศอีกประการคือจังหวัดสงขลามีแม่น้ำ ลำธาร และพื้นที่ชุ่มน้ำหลายสายไหลผ่าน ซึ่งมีความสำคัญต่อการชลประทาน เกษตรกรรม และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตทางน้ำที่หลากหลาย รวมถึงปลาน้ำจืด กบ และพืชน้ำ ปลาน้ำจืดหลายชนิดถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหารในท้องถิ่น โดยมีความสำคัญอย่างยิ่งในอาหารแบบดั้งเดิม